Friday, February 3, 2012

เทคนิคถ่ายภาพเด็ด : รอบรู้ รู้รอบเรื่องสปีดชัตเตอร์ (ภาค 2)


สวัสดีครับน้องๆ ชาว Dek-D.com ทุกๆคน มาพบกับพี่เอม ทุกๆ วันศุกร์แสนสุขแบบนี้นะครับ เดือนนี้ถือได้ว่าเป็นเดือนที่มีช่วงวันหยุดยาวเยอะที่สุดในรอบปีเลยครับ น้องๆ วางแผนจะไปเที่ยวที่ไหนกันบ้างเอ่ย? ส่วนพี่เอมนั้นชิ่งหนีไปเที่ยวก่อนเรียบร้อยแล้ว จะได้ไม่ต้องไปแย่งกันเที่ยวกับคนเยอะๆ นะครับ ฮ่าๆ พี่เอมเพิ่งกลับมาจากแดนกิมจิ เกาหลี นั่นเอง! ไว้เดี๋ยวพี่เอมจะลงรูปให้ดูนะครับ 
      สำหรับสัปดาห์ที่แล้ว ที่พี่เอมทิ้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องความเร็วชัตเตอร์ไว้นะครับ และมีน้องๆ ตอบถูกเสียด้วย!!! ยินดีด้วยครับน้องเข้าใจเรื่องสปีดชัตเตอร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนน้องๆ ที่ยังงงๆ อยู่ ในสัปดาห์นี้พี่เอมจะมาอธิบายให้ฟังว่าความเร็วชัตเตอร์มาก หรือน้อย จะมีผลอย่างไรกับภาพของเรา และจะทำให้ภาพของเราสวยสมใจได้อย่างไรนะครับ! ส่วนน้องๆ คนไหนพลาดตอนที่แล้วไป ไม่ต้องเสียใจ ย้อนกลับไปอ่านได้ที่นี่ครับ คลิกที่นี่ 
      ความเร็วชัตเตอร์ของกล้องจะมีระยะตั้งแต่ 30 วินาที -  1/8000 วินาที ซึ่งขึ้นอยู่กับเสปคของกล้องด้วย นอกจากการควบคุมเรื่องแสงที่จะตกสู่เซนเซอร์ของกล้องแล้ว ความเร็วชัตเตอรยังส่งผลถึงการ "จับการเคลื่อนไหว" ของแบบอีกด้วย!
 เด็กดีดอทคอม :: เทคนิคถ่ายภาพเด็ด : รอบรู้ รู้รอบเรื่องสปีดชัตเตอร์ (ภาค 2)


     น้องๆ เคยเห็นภาพคนที่หยุดนิ่งกลางอากาศ หรือภาพข่าวกีฬาที่เห็นนักกีฬาหยุดค้างอยู่ ไม่ขยับเขยื้อน หรือภาพน้ำตกที่เห็นสายน้ำ กระเซ็นเป็นเม็ดๆ หรือเป็นสายๆ นุ่มนวลเหมือนเป็นควันลอยขึ้นมาไหมครับ นั่นละ! ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องการควบคุมความเร็วชัตเตอร์ทั้งสิ้น
 เด็กดีดอทคอม :: เทคนิคถ่ายภาพเด็ด : รอบรู้ รู้รอบเรื่องสปีดชัตเตอร์ (ภาค 2)


     อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ยิ่งชัตเตอร์เร็วเท่าไร ยิ่งหยุดความเคลื่อนไหวได้มากเท่านั้น และยิ่งช้าเท่าไรยิ่งทำให้เคลื่อนไหวมากเท่านั้น
     
     สมมุติว่าเราจะถ่ายภาพคนกระโดดให้หยุดอยู่บนอากาศ ความเร็วชัตเตอร์สมควรมีมากกว่า 1/250 วินาที ยิ่งเป็นการเคลื่อนที่เร็วเท่าไรยิ่งต้องเพิ่มความเร็วมากขึ้นเท่านั้น เช่นการแข่งขันรถ อาจจะต้องใช้ความเร็วถึง 1/1000 วินาที
       
 เด็กดีดอทคอม :: เทคนิคถ่ายภาพเด็ด : รอบรู้ รู้รอบเรื่องสปีดชัตเตอร์ (ภาค 2)

     แล้วถ้าอยากถ่ายน้ำตกให้เกิดเป็นสายน้ำที่นุ่มนวล ก็จำเป็นต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้า อาจจะนาน 1 วินาที หรือ มากกว่านั้น และใช้ควบคู่กับขาตั้งกล้อง เพราะการสั่นไหวของกล้องเพียงเล็กน้อย จะทำให้ภาพนั้นเบลอได้ครับ
เด็กดีดอทคอม :: เทคนิคถ่ายภาพเด็ด : รอบรู้ รู้รอบเรื่องสปีดชัตเตอร์ (ภาค 2) 
            
      แล้วทีนี้เวลาเรายกกล้องขึ้นมา เราลองสังเกตกันนะครับว่าทำไมเราถ่ายภาพมักจะเบลอ นั่นเพราะตัวเลขของความเร็วชัตเตอร์นั้นช้าเกิน กว่าที่มือเราจะถือได้นั่นเอง! (ให้เราปรับไปที่โหมด TV หรือ โหมด S นะครับ จะทำให้เราสามารถควบคุมสปีดชัตเตอร์ได้ ส่วนกล้องของน้องคน ไหนไม่มีโหมดนี้ ก็พยายามเลือกถ่ายรูปในสถานที่ที่มีแสงเยอะๆ นะครับ :D ) 
       ป.ล.เราสามารถฟังจากเสียงชัตเตอร์ได้เหมือนกันนะครับว่า ช้าหรือเร็ว ถ้า ชึบ! แล้วหยุดนั่นคือเร็ว แต่ถ้า ชึบ....ชึบ! นั่นคือชัตเตอร์ช้าครับ มีความเป็นไปได้สูงว่า ภาพสั่นแน่นอน!

No comments:

Post a Comment