Wednesday, November 16, 2011

10 ผลงานของดาวินชีที่โลกต้องตะลึง

อันดับ 10 เทคนิคการเขียนกลับทาง (Mirror Writing)


เทคนิค การเขียนตัวอักษรย้อนกลับทิศทางจากตัวหลังไปตัวหน้าของดาวินชี สร้างข้อถกเถียงให้กับนักวิชาการจนถึงวันนี้ ว่า เป็นวิธีการเข้ารหัส
แบบ โบราณที่เขาสร้างขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นๆ ลอบอ่านและขโมยข้อมูลในบันทึกส่วนตัว หรือจริงๆแล้วเป็นเพียงเพราะดาวินชี 'ถนัดซ้าย'
จึงคิดวิธีเขียนกลับหลังแบบนี้เพื่อไม่ให้น้ำหมึกเปื้อนมือกันแน่


อันดับ 9 ชุดดำน้ำ (Scuba Gear)
10 ผลงานของ ดาวินชี ที่โลกต้องตะลึง

ผลพวงจากการที่ดาวินชีหลงใหลในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นที่มาของการออกแบบอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือสำหรับการดำน้ำขึ้นมา
หลาย ชนิดในจำนวนนี้ รวมถึงเรือดำน้ำ และชุดประดาน้ำที่ตัวชุดทำจากหนังและเชื่อมต่อกับท่อและโลหะทรงกลมซึ่งทำ หน้าที่เป็นเหมือนสนอร์เกิ้ล
หรือหน้ากากดำน้ำยุคปัจจุบัน นอกจากนั้น ชุดดำน้ำชุดนี้ยังมีถุงเก็บปัสสาวะด้วย แสดงให้เห็นถึงความรอบคอบในการออกแบบ


อันดับ 8 สะพานชักรอก (The Revolving Bridge)
10 ผลงานของ ดาวินชี ที่โลกต้องตะลึง

ดาวินชีออกแบบสะพานสำหรับใช้ในการเคลื่อนพลผ่านพื้นที่ในสมรภูมิทุรกันดาร ต่างๆ เช่น การยกพลข้ามแม่น้ำ ตัวสะพานดังกล่าวมีระบบ
ชักรอกและสายพาน ทำให้ทหารกางออกมาใช้งานและชักรอกเก็บได้อย่างรวดเร็ว เป็นหนึ่งในเครื่องจักรทุ่นแรงอีกหลายชนิดจากการคิดค้น
ของดาวินชี


อันดับ 7 เครื่องร่อน (The Winged Gilder)
10 ผลงานของ ดาวินชี ที่โลกต้องตะลึง

ภาย ในคลังจินตนาการอันไม่มีที่สิ้นสุดของดาวินชีนั้น มี 'เครื่องกลบินได้' รวมอยู่ด้วยเป็นจำนวนมาก รวมถึง 'เครื่องร่อน' ซึ่งตรงบริเวณปีกมีแผ่น
บังคับเปิด-ปิดควบคุมทิศทางได้หรือที่ปัจจุบันเรียก ว่า 'แฟลบ' และในตัวเครื่องร่อนยังมีเกียร์ควบคุมความเร็วที่นั่งติดอยู่ด้วย


อันดับ 6 ปืนใหญ่ 3 ลำกล้อง (The Triple-Barreled Cannon)
10 ผลงานของ ดาวินชี ที่โลกต้องตะลึง

แม้ ประวัติของดาวินชีจะเกลียดสงคราม มีลักษณะเป็น 'นักคิด'มากกว่า 'นักรบ' แต่ในใจของเขาก็ยังฝันถึงการคิดค้นงานด้านวิศวกรรม หนทางเดียว
ที่จะทำเช่นนั้นได้ คือ การออกแบบอาวุธสงครามเพราะได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจมากที่สุด หนึ่งในผลงานการออกแบบอาวุธ ได้แก่
ปืนใหญ่ที่มีอานุภาพที่มีลำกล้องติดกันถึง 3 กระบอก เหมือนกับที่เห็นในภาพ


อันดับ 5 สกรูบิน (The Aerial Screw)
10 ผลงานของ ดาวินชี ที่โลกต้องตะลึง

ถึง แม้นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่จะลงความเห็นตรงกันว่ามันไม่มีทางที่เจ้า อุปกรณ์ชิ้นนี้จะบินขึ้นจากพื้นได้ แต่ 'เฮลิคอปเตอร์' ใน แบบของดาวินชี
ก็ ยังคงถูกจัดให้เป็นหนึ่งในผลงานที่โด่งดังที่สุดของเขา เครื่องกลที่ชวนให้สงสัยนี้ดูเหมือนว่าจะถูกออกแบบให้ทำงานโดยใช้คนสี่คนมา หมุน
มันพร้อมกัน รวมทั้งน่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากกังหันลมซึ่งเป็นของเล่นที่นิยมกันใน สมัยนั้นด้วย


อันดับ 4 เมืองในอุดมคติ (The Ideal City)
10 ผลงานของ ดาวินชี ที่โลกต้องตะลึง

ยุคสมัยหนึ่ง ดาวินชีอาศัยอยู่ในนครมิลานท่ามกลางสภาพการแพร่ระบาดของโรคร้าย เขาจึงคิดออกแบบผังเมืองใหม่ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ
ถูก สุขอนามัย อาทิ เขียนแบบให้เมืองในอุดมคติเมื่อหลายร้อยปีก่อนแห่งนี้มี 'ระบบระบายอากาศ' เพื่อดึงอากาศบริสุทธิ์เข้าสู่ตัวเมือง และมีระบบ
ระบายน้ำเสีย


อันดับ 3 รถขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (The Self-Propelled Car)
10 ผลงานของ ดาวินชี ที่โลกต้องตะลึง

แน่ นอนว่ารถที่ดาวินชีพยายามสร้างไม่สามารถวิ่งเร็วหลายร้อยกิโลเมตรต่อ ชั่วโมงเหมือนรถเฟอร์รารี่ แต่ถ้าคิดว่าเป็นรถที่อยู่ในสมัยนั้นก็ต้องจัด
ว่า ไฮเทคล้ำยุคสุดๆ เพราะรถที่มีตัวถังทำจากไม้คันนี้ สามารถแล่นขับเคลื่อนด้วยตัวมันเองด้วยแรงส่งและการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน ระหว่างสปริง
และเกียร์ที่ล้อ เมื่อปี 2547 นักวิทยาศาสตร์ประจำพิพิธภัณฑ์ในเมืองฟลอเรนซ์ทดลองสร้างแบบจำลองรถรุ่นนี้ ตามแบบที่ดาวินชีร่างเอาไว้และ
พบว่าวิ่งได้จริง


อันดับ 2 แนวคิดเกี่ยวกับธรณีวิทยา (Geologic Time)
10 ผลงานของ ดาวินชี ที่โลกต้องตะลึง

นัก คิดส่วนมากในสมัยของดาวินชีนั้นมีความเห็นตรงกันเป็นส่วนใหญ่ว่าซาก ฟอสซิลของพวกหอย ปู ปลาหมึกต่างๆที่พบบนยอดเขานั้นเป็นสิ่งที่
หลงเหลือ จากการเกิดน้ำท่วมครั้ง ใหญ่ แต่ดาวินชีกลับไม่คิดเช่นนั้น เขาตั้งข้อสงสัยไว้ (ซึ่งก็ถูกเสียด้วย) ว่าภูเขาเหล่านั้นจะต้องเคยเป็นชายฝั่ง
มาก่อน ก่อนที่จะค่อยๆยกตัวสูงขึ้นๆในเวลาต่อมา


อันดับ 1 วิทรูเวียนแมน (The Vitruvian Man)
10 ผลงานของ ดาวินชี ที่โลกต้องตะลึง

เชื่อ ว่าชาวโลกน้อยคนนักที่จะไม่เคยผ่านตากับภาพวาดของบุรุษผู้นี้ นั่นก็คือภาพ 'วิทรูเวียน แมน' ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ดาวินชีศึกษาxส่วนกาย
วิภาค มนุษย์อย่างละเอียด จนพิสูจน์ทฤษฎีบทของ 'วิทรูเวียน' ผู้เป็นสถาปนิกยุคจักรวรรดิโรมันได้สำเร็จว่า 'ร่างคนยืนกางแขนขาจะตกเป็นรูปทรง
เรขาคณิตที่สมบูรณ์เสมอ' และนับเป็นการเปิดประตูสู่ศาสตร์กายวิภาคครั้งสำคัญ

No comments:

Post a Comment