อาจารย์ดอกเตอร์รอเบิร์ต ซาลโปลสกี ผู้เขียนหนังสือ "ทำไมม้าลายไม่เป็นโรคกระเพาะฯ" กล่าวว่า ม้าลายก็เครียดเป็นคล้ายๆ กับคนเรา ทว่า... เวลามันเครียด(เช่น สิงห์โตหรือหมาป่าไล่ ฯลฯ) มันจะวิ่งหนีจนเหงื่อตกกีบ การออกแรง-ออกกำลังช่วยทำลายความเครียด
คนเราพอเครียดขึ้นมามักจะไม่มีโอกาสวิ่งแบบม้าลาย เลยเครียด และเป็นโรคกระเพาะฯ
ข่าวร้ายที่มากับความเครียดคือ ความเครียดมีส่วนทำให้สมองส่วนฮิปโปแคมพัส (ชื่อฮิปโป แต่ไม่ใช่ "ฮิปโป") ซึ่งทำหน้าที่เก็บรักษาความทรงจำทำงานได้แย่ลง
บล็อก 'SharpBrains (หัวแหลม / สมองไว)" แนะนำวิธีเพิ่มความจำดีๆ ไว้ 10 วิธีดังต่อไปนี้
คนเราพอเครียดขึ้นมามักจะไม่มีโอกาสวิ่งแบบม้าลาย เลยเครียด และเป็นโรคกระเพาะฯ
ข่าวร้ายที่มากับความเครียดคือ ความเครียดมีส่วนทำให้สมองส่วนฮิปโปแคมพัส (ชื่อฮิปโป แต่ไม่ใช่ "ฮิปโป") ซึ่งทำหน้าที่เก็บรักษาความทรงจำทำงานได้แย่ลง
บล็อก 'SharpBrains (หัวแหลม / สมองไว)" แนะนำวิธีเพิ่มความจำดีๆ ไว้ 10 วิธีดังต่อไปนี้
(1). ออกกำลัง > การออกกำลังแบบแอโรบิค หรือออกกำลังต่อเนื่อง เช่น วิ่งเหยาะ(จอกกิ้ง) ฯลฯ นาน 20-30 นาที อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์
(2). ฝึกคลายเครียด (relaxation) > การฝึกสมาธิ ไทเกก(ชี่กง-ไทจี้) โยคะ ซึ่งช่วยทำให้การหายใจเข้า-ออกช้าลงอย่างน้อยวันละ 10 นาที
(3). ฝึกแสดงความชื่นชม (appreciation / "แอพพรีชิเอ๊เชิ่น" ไม่ใช่ "อัปรีย์") > การแสดงความชื่นชมควรเน้นที่การกระทำ ไม่ว่าใครทำอะไรดีๆ ควรแสดงความชื่นชมเสมอ เพื่อฝึกการมองโลกในแง่ดี คนที่ต้องชื่นชมก่อนคนอื่นทั้งหมดคือ ชื่นชมตัวเราเองเวลาเราทำอะไรดีๆ และชื่นชมคนรอบข้าง
(4). หาเครือข่ายสังคม (social network) > เครือข่ายสังคมดีๆ ช่วยให้เรามองโลกในแง่ดี และช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่ว่าจะยามทุกข์หรือยามสุข จึงควรเลือกคบเพื่อนดีๆ ญาติดีๆ (ญาติเลวๆ มีคุณสมบัติคล้าย "พยาธิ" จะช่วยเหลือก็ได้ แต่ไม่ควรคบ) และเครือข่ายสังคมดีๆ เช่น เครือข่ายพวกเราบน Gotoknow ฯลฯ
(5). ใช้ปฏิทิน > วางแผนว่า จะทำอะไรก่อนหลังลงบนปฏิทิน อย่าปล่อยให้เรื่องวุ่นๆ รกสมองจนล้นทะลัก
(6). ลำดับความสำคัญ (list) > เขียนไปเลยว่า จะทำอะไรก่อน-หลัง(ตามความรีบด่วน) อะไรสำคัญ-ไม่สำคัญ แบ่งเป็น 4 ช่อง และเลือกทำสิ่งที่รีบด่วน+สำคัญก่อนเสมอ
(7). ให้รางวัลตัวเองบ้าง > เวลาเราทำอะไรดีๆ สำเร็จ ไม่ว่าจะมากหรือน้อย ควรฝึกให้รางวัลตัวเองบ้าง ผู้เขียนมักจะให้รางวัลตัวเองด้วยการกล่าว "สาธุ สาธุ สาธุ (บาลี = ดีละๆๆ)" กับตัวเอง หรือเดินเล่น (10-120 นาที)
(8). เลือกแต่สิ่งดีๆ (prioritize) > เวลาไปงานหรือพบปะคนมากๆ ไม่จำเป็นต้องจำคนทุกคนให้ได้ เช่น ถ้าพบคน 25 คน เลือกจำคนดีๆ ที่ควรคบ 5 คนก็พอ ฯลฯ
(9). นอนให้พอ > คนส่วนมากต้องการนอนวันละ 7 ชั่วโมง(แต่ละคนไม่เท่ากัน) ลองสังเกตดูว่า นอนเท่าไหร่ที่จะทำให้สดชื่น และไม่ง่วงตอนบ่ายๆ แต่อย่านอนเกินวันละ 9 ชั่วโมง... การนอนมากเกินทำให้อัตราตายจากโรคต่างๆ เพิ่มขึ้นได้
(10). ข่าวดีคือ ไม่มียาหรืออาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มความจำได้ แม้แต่โสมก็ไม่ช่วย มีแต่ "ซองใส่ยา" หรือรองเท้าดีๆ สักคู่ ใส่มันเดินมากๆ วิ่งมากๆ ซองใส่ยานี้อาจช่วยให้ความจำดีขึ้นได้ในระยะยาว
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดี และมีความจำดีไปนานๆ ครับ
ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดี และมีความจำดีไปนานๆ ครับ
โดย นพ. วัลลภ พรเรืองวงศ์
No comments:
Post a Comment